Un title page
หน้าแรก หน้าต่อไป

ประวัติสถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์


                     ประวัติและความเป็นมาของคณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์ เกิดขึ้น ในนามของโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเพชรบุรี ตำบลประแจจีน

อำเภอดุสิตในเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ซึ่งเป็นที่ดินส่วนพระองค์ของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรี

ีราชสิรินธรโดยได้โปรดประทานสถานที่ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้น มีหลักฐาน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เริ่มแรกได้เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถมสามัญ

(ป.ป.) โดยย้ายนักเรียนฝึกหัดครูมาจากโรงเรียนเบญจมราชาลัย ใช้เวลาเรียน 3 ปี ซึ่งได้เปิดสอนหลักสูตรนี้ในปี

พ.ศ. 2475 - 2479 และปี พ.ศ. 2485 - 2497 โดยที่ในช่วง พ.ศ. 2480 - 2484 กระทรวงศึกษาธิการได้ย้าย นักเรียน (ป.ป.)

ไปเรียนที่โรงเรียนสวนสุนันทาลัย (วิทยาลัยครูสวนสุนันทา) พ.ศ. 2489 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)

รับนักศึกษาฝึกหัดครูแบบสหศึกษา โดยให้นักศึกษาหญิงประจำ นักศึกษาชายเดินเรียน พ.ศ. 2513 เปิดสอนหลักสูตร

ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) เป็นรุ่นแรกในวิชาเอก ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

และสังคมศึกษา และในปีนี้เองยังได้จัดโครงการอบรมครูชุด พ.กศ. พ.ม. อสช. อศร. เพื่อช่วยเพิ่มวุฒิครูให้กับครูไม่มีวุฒิครูมาก่อน

เป็นการส่งเสริมวิทยฐานะครู แต่ได้หยุดไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2514 ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถมสามัญ

(ป.ป.) ขึ้นอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากประเทศขาดแคลนครู โดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.5)

หรือเทียบเท่า ใช้เวลาเรียน 1 ปี แต่เปิดได้เพียง 2 รุ่นเท่านั้นในปี พ.ศ. 2514 - 2515 พ.ศ. 2515 ย้ายนักเรียนฝึกหัดครู

ทั้งหมดออกมาเรียนที่วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากเพิ่มปริมาณ

การรับนักศึกษามากขึ้น และเปิดวิชาเอกเพิ่มขึ้นอีกด้วย คือ เคมี ฟิสิกส์ คหกรรมศาสตร์ สุขศึกษา เกษตรศาสตร์ พลศึกษา

อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ศิลปศึกษา นาฏศิลป์ ดนตรีศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์

และสหกรณ์ และในปีนี้ได้เปิดรับนักศึกษาภาคค่ำตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อผลิตครู ให้เพียงพอกับความต้องการ

โดยเปิดรับในระดับ ป.กศ. และ ป.กศ.ชั้นสูง ใน 5 วิชาเอกดังนี้ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

และสังคมศึกษา และในปี พ.ศ. 2520 เปิดวิชาเอกประวัติศาสตร์และวิชาเอกภูมิศาสตร์ ปี พ.ศ. 2521 เปิดวิชาเอกคหกรรมศาสตร์

์ เพิ่มเติมอีกในระดับ ป.กศ. ชั้นสูง การเปิดภาคค่ำ 2 หลักสูตรนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515-2521 รวม 7 รุ่น ผลิตครูได้ประมาณ

10,000 คน พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518

มีผลทำให้วิทยาลัยครูสอนได้ถึงระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2521 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา)

เป็นรุ่นแรกโดยเปิด 2 วิชาเอก คือวิทยาศาสตร์ทั่วไปและสังคมศึกษา ปี พ.ศ. 2522 เปิดเพิ่มในวิชาเอกเกษตรศาสตร์ พลศึกษา

ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ รวมเป็น 8 วิชาเอก พ.ศ. 2522 มีโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากร

ทางการศึกษาประจำการ(อคป.) ใน หลักสูตร ป.กศ. ชั้นสูง และหลักสูตรปริญญาตรี ทำให้สามารถส่งเสริมวิทยฐานะ

ของบุคลากรทางการศึกษาประจำการให้สุงขึ้นได้มากกว่า 10,000 คน โครงการนี้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2528 ทำได้รวม 7 รุ่น

พ.ศ. 2523 หยุดรับนักเรียน ป.กศ. แต่เปิดรับในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ขึ้นเป็นครั้งแรกในวิชาเอกคณิตศาสตร์ ชีววิทยา

ภาษาอังกฤษ และประวัติศาสตร์ ปีต่อมา เปิดสอนเพิ่มอีกทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) ดังนี้

คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศิลป์ เกษตรศาสตร์ พลศึกษา ภาษาไทย

ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ นาฏศิลป์ การประถมศึกษา การศึกษาปฐมวัย

จิตวิทยาและการแนะแนว สุขศึกษา และนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา พ.ศ. 2528 หยุดรับนักศึกษาในระดับ

ป.กศ. ชั้นสูง ตามนโยบายไม่ต้องการผลิตครู วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี

 

พ.ศ.2529 เริ่มโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ(กศ.บป.) เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา)

ใน 10 วิชาเอก คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา นาฎศิลป์ คหกรรมศาสตร์ สุขศึกษา อุตสาหกรรมศิลป์ พลศึกษา เกษตรศาสตร์

การบริหารโรงเรียน และ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และในปี พ.ศ. 2535 ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4ปีเพิ่ม

ในวิชาเอกพลศึกษา คหกรรมศาสตร์ และการประถมศึกษา ส่วนระดับปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) เปิดเพิ่มในวิชาเอก

การประถมศึกษา พ.ศ. 2530 เริ่มโครงการคุรุทายาท ที่ต้องการผู้ที่เรียนเก่ง

มีความประพฤติดีและศรัทธาในอาชีพครูมาเป็นครูตามความต้องการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รับนักศึกษาจากผู้ที่จบมัธยมปีที่ 6 และผู้ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 2 ที่มีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 90 ขึ้นไปเข้าเรียนในชั้นปีที่ 3 ในโครงการนี้ด้วย โดยเปิดในระดับปริญญาตรี 4 ปี ใน 2 วิชาเอก คือ การศึกษาปฐมวัย และการประถมศึกษา โครงการนี้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในปี พ.ศ. 2534 กรมการฝึกหัดครูมีนโยบายให้รับนักศึกษา ได้เพียงบางแห่งแล้วให้เรียนอยู่ที่เดียวกันเป็นกลุ่ม แต่ในปี 2535 ได้เปิดรับตามปกติและเพิ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์ขึ้นด้วย และพบว่าโครงการนี้นักศึกษาทุกรุ่นมีผลการเรียนดี มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศ ในปี พ.ศ. 2538 เปิดอีก 1 วิชาเอก คือ จิตวิทยาและการแนะแนว ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2541 เปิดเพิ่มอีก 1 วิชาเอก คือ ภาษาอังกฤษ จำนวน 6 คน ในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู ซึ่งเป็นหน่วยงานสำหรับการประสานการทำงานพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ จังหวัดปทุมธานี ปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ในปี พ.ศ. 2543 คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการบริหารโปรแกรมวิชานักศึกษาสายครูทั้งหมดทุกโปรแกรมวิชา ซึ่งได้แก่ โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา การศึกษาปฐมวัย บริหารการศึกษา พลศึกษาและนันทนาการ จิตวิทยาและการแนะแนว วิทยาศาสตร์ทั่วไป คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ